วัดพนัญเชิง

เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าอู่ทองยังไม่สถาปนากรุ

ศรีอยุธยาส่วนพื้นที่บริเวณนี้ก็ยังเป็นเมืองอโยธยาอยู่เสียด้วยซ้ำ

ภายในวัดเนืองแน่นด้วยนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติไม่น่าแปลกใจ เพราะเรื่อ

เล่าที่เล่าขานสืบต่อกันมาถึงที่มาของวัดนี้มีเสน่ห์ตรึงใจทุกคนที่ได้ฟังจนอยากจะมาเห็นด้วยตาตนเองสักครั้ง หากจะบอกเล่าเรื่อ

นี้ตามขนบนิทานก็คงจะเล่าได้ว่า

...กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระเจ้ากรุงจีนต้องการสานสัมพันธ์กับเมืองอโยธยาจึงส่งลูกสาวคือพระนา

สร้อยดอกหมากมาอภิเษกกับพระเจ้าสายน้ำผึ้ง กษัตริย์แห่งอโยธยา เมื่อนางเสด็จมาถึงได้ทำเชิงให้พระเจ้าสายน้ำผึ้งออกมาตอนรับนางอย่างสมพระเกียรติ แต่พระเจ้าสายน้ำผึ้งไม่ได้ออกมาด้วยพระองค์เอง พระนางน้อยใจจึงกลั้นใจตายอยู่ในเรือพระที่นั่ง  พื้นที่ตรงนี้จึงได้ชื่อว่าพระนางทำเชิงหรือพระนางหยั่งเชิงและเพี้ยนเป็นพนัญเชิงในเวลาต่อมา…

ตำนานเรื่องนี้จบไม่สวยแต่ก็ตราตรึงใจผู้คนทุกยุคทุกสมัย ทุกวันนี้ในวัดพนัญเชิงจึงได้มีศาลเจ้าแม่จู๊แซเนียหรือตำหนักพระนางสร้อยดอกหมากตั้งเด่นเป็นสง่าให้ชาวบ้านได้เคารพสักการะ ในตำหนักประดิษฐานรูปหล่อพระนางสร้อยดอกหมากองค์เล็กเท่าของเล่นเด็ก ทุกๆปีโดยเฉพาะในช่วงตรุษจีนและงานเทศกาลประจำปีจะมีชาวจีนจำนวนมากพากันมาถวายผ้าแพรสีสันสดสวยให้เจ้าแม่

ไม่เพียงเรื่องเล่าที่สืบทอดกันมา สิ่งที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาวัดแห่งนี้ยังมีหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ พระพุทธรูปหลวงพ่อโตนี้มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาแล้ว เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง หนังสือ ‘คำให้การชาวกรุงเก่า’ กล่าวว่า ช่วงก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒นั้น หลวงพ่อโตมีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง เป็นลางบอกเหตุว่าอยุธยาจะล่มสลาย

จนเมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้าฯให้บูรณะหลวงพ่อโตใหม่ทั้งองค์พร้อมถวายพระนามว่า พระพุทธไตรรัตนายก มีหน้าตักกว้าง ๒๐.๑๗เมตร สูง ๑๙เมตร พระพักตร์เหลี่ยมตามแบบศิลปะอู่ทอง ทุกๆปีจะมีงานประเพณีนมัสการหลวงพ่อโต เป็นงานที่ทั้งชาวไทยและชาวจีนมาร่วมอย่างคับคั่งโดยเฉพาะในสมัยก่อนซึ่งเป็นเทศกาลที่ทุกคนรอคอยเพราะตรงกับหน้าน้ำ นอกจากจะได้เฉลิมฉลองงานยังเป็นโอกาสในการพายเรือเล่นน้ำร่วมกันของชาวบ้านด้วย

ก่อนจากวัดพนัญเชิง เราเข้าไปภายในโบสถ์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระทอง พระปูน และพระนาค พระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปด้านซ้ายสุดเป็นพระพุทธรูปทองเก่าแก่สมัยสุโขทัย องค์กลางเป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยา และองค์ขวาเป็นพระพุทธรูปนากสมัยสุโขทัย เราไหว้พระทั้ง ๓ องค์ ชมจิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม รำลึกถึงตำนานที่ทำให้วัดแห่งนี้ยังเป็นที่น่าหลงใหล แล้วลาจากไปยังสถานที่ต่อไป ชมความรุ่งเรืองของอยุธยาผ่านโบราณสถานแห่งใหม่อีกครั้ง

Please rate this place
Total votes: 355

สถานที่ใกล้เคียง