เฉลิมหล้ากราฟฟิตี้

กราฟฟิตี้ ภาพวาดตามกำแพง ถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ไร้ระเบียบ ทำลายของสาธารณะ และสกปรกรุงรังในสายตาคนไทยมานาน จนทำให้มีเราอคติกับศิลปะรูปแบบนี้ แต่มีชุมชนหนึ่งใกล้ๆ สยามล้มความคิดนี้และเปิดให้นักเขียนกราฟฟิตี้เข้ามาสร้างสรรค์ผลงาน

ศิลปะแหกกฎทำให้สถานที่ที่หนึ่งมีแหล่งท่องเที่ยวได้ ถัดจากสยามดิสคัฟเวอรี่ไปไม่กี่ร้อยเมตร มีศิลปินมาพ่นผนังตึกร้างเป็นรูปร่างต่างๆ บางรูปใช้เวลา 2 ชั่วโมง บางรูปใช้เวลา 2 วัน ค่อยๆ รวมกันจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของสวนหย่อมเฉลิมหล้า

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ. 2468 พื้นที่ของสวนนี้เคยเป็นที่ดินของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานให้กับพระยานรรัตนราชมานิต หรือเจ้าคุณนรฯ ต่อมาเจ้าคุณนรฯ มอบพื้นที่ส่วนนี้ให้วัดเทพศิรินทราวาสเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป และถวายบุญกุศลครั้งนี้ให้แก่รัชกาลที่ 6  ในช่วงแรกวัดเทพศิรินทร์เก็บที่ดินนี้ไว้เพื่อเก็บภาษีจากคนที่มาอยู่แถวนั้น จนมีบริษัทแห่งหนึ่งมาซื้อที่ดินแห่งนี้ไปเพื่อการก่อสร้าง พื้นที่ตรงนี้ถูกทิ้งไว้นาน ไม่มีใครมาทำอะไรกับมัน จนมีศิลปินมาวาดรูปบนกำแพงใกล้ๆ ทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย พ่นกันเป็นระยะเวลาประมาณ 10 กว่าปีได้แล้ว

พ.ศ. 2555 มีการเวนคืนที่ดินแถวราชเทวี-ปทุมวันไว้สร้างถนนและทางด่วนบางโคล่-แจ้งวัฒนะ พื้นที่ตรงนี้จึงมอบให้กรมการทางพิเศษแห่งประเทศไทย แต่ก็ยังมีผู้คนแห่กันมาสร้างผลงานในพื้นที่แห่งนั้น  3 ปีต่อมาโครงการนี้ถูกยกเลิกไปจากเสียงคัดค้านของคนในชุมชนนั้น ทำให้ที่ดินเปล่าผืนนี้ถูกทิ้งร้าง และนำมาสร้างเป็นสวนหย่อมขนาดเล็กตรงเชิงสะพานหัวช้าง ราชเทวี ขนาด 3 วากว่าๆ

สวนนี้กลายเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนแถวนั้น เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และเป็นพื้นที่ลงสีแห่งใหม่ของนักเขียนกราฟฟิตี้ คนที่ต้องการจะมาสร้างผลงานที่นี่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของตึกที่จะวาด ปกติคนที่นี่มักให้เขียนได้ จนทำให้ที่นี่เป็นแหล่งรวมงานกราฟฟิตี้มากมาย ทั้งแบบคาแรคเตอร์ (character) แบบโปรดักชั่น การรวมกราฟฟิตี้หลายชิ้นไว้ด้วยกันโดยทุกรูปอยู่ในธีมเดียวกัน (production) หรือแบบบล็อกบัสเตอร์ (blockbuster) งานที่ตั้งใจเขียนทั้งผนัง

เมื่อไม่นานมานี้มีศิลปินท่านหนึ่งได้เพ้นท์บล็อกบัสเตอร์ที่เขียนว่า “เราเกิดในรัชกาลที่ 9 We were born in the reign of Rama IX” ตรงอาคารติดกับสวนเฉลิมหล้า และได้รับความสนใจและคำชื่นชมเป็นอย่างมาก บางทีจุดประสงค์ของชาวบ้านที่นี่อาจจะเป็นการทำให้ศิลปะกราฟฟิตี้มีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในสายตาผู้คนทั่วไปก็เป็นได้

Please rate this place
Total votes: 206

สถานที่ใกล้เคียง